ทำไมเราถึง “นอนละเมอ”? ควรปลุกให้ตื่นหรือไม่?

แม้ว่าจะเป็นเรื่องหน้าอายที่บางคนมีอาการนอนละเมอในตอนเด็ก หรือบางคนอาจจะยังนอนละเมออยู่แม้ว่าจะอยู่ในวัยผู้ใหญ่แล้ว และทุกคนรู้จักกับอาการนอนละเมอกันเป็นอย่างดี

ทั้งเป็นเอง หรือเห็นคนรอบข้างเป็น แต่เชื่อว่าหลายคนน่าจะยังไม่ทราบเหตุผลว่าทำไมเราถึงนอนละเมอ ลุกขึ้นมาทำนู่นนี่ได้มากมาย และเราควรปฏิบัติตัวอย่างไรกับคนที่นอนละเมอ รวมถึงวิธีป้องกันการนอนละเมออีกด้วย เห็นไหมว่าแม้ว่าทุกคนจะรู้จักอาการละเมอ แต่ก็ยังไม่ทราบเรื่องของการละเมออีกมากมายเลยทีเดียว

ข่าวสุขภาพวันนี้

นอนละเมอ เกิดจากอะไร?
สาเหตุของการนอนละเมอยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเกิดจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการนอนหลับไม่สนิท ถูกรบกวนขณะนอน ความเครียด วิตกกังวล อาการเป็นไข้ไม่สบาย อยู่ในภาวะซึมเศร้า เมาค้าง หรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาระงับ หรือกล่อมประสาท

ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว อาจมีความเสี่ยงในการนอนละเมอจากอาการข้างเคียงของโรคต่างๆ ที่เป็นอยู่ เช่น ภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะง่วงนอนมากเกินไป (Narcolepsy) กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome) ที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกรำคาญขาของตัวเองจนนอนไม่ค่อยหลับ โรคกรดไหลย้อน ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) หรือปวดหัวไมเกรน เป็นต้น

นอกจากนี้ กรรมพันธุ์ก็เป็นส่วนหนึ่งของอาการนอนละเมอได้ เพราะหากมีคนในครอบครัวที่มีอาการนอนละเมอ จะทำให้เรามีความเสี่ยงในการนอนละเมอมากขึ้นถึง 10 เท่า รวมไปถึงสิ่งเร้าใจภายนอกที่กระตุ้นให้เกิดอาการนอนละเมอได้ อาจมีตั้งแต่การอ่าน ชมละคร ภาพยนตร์สยองขวัญ หรือภาพน่ากลัวก่อนนอน ที่ทำให้สมอง และจิตใจถูกรบกวนจนทำให้นอนหลับไม่สนิท จนเกิดอาการนอนละเมอได้เช่นกัน

นอนละเมอ มีอาการอย่างไร?
ผู้ที่มีอาการนอนละเมอจะเริ่มมีอาการละเมอหลังจากนอนหลับไปแล้ว 1-3 ชั่วโมง และจะเริ่มมีอาการละเมอหลังจากนอนหลับไปแล้ว 1-3 ชั่วโมง หรือเกิดอาการนอนละเมอในช่วงหลับลึก (Non-REM sleep) อาการของการนอนละเมอ มีตั้งแต่อาการเล็กๆ น้อยๆ อย่างการพูดพึมพำขณะหลับ ละเมอฝันผวาขยับร่างกายไปมา ส่งเสียงร้องขณะที่ตายังหลับอยู่ รู้สึกเหมือนอยู่ในภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่นแต่ขยับร่างกายไม่ได้เหมือนถูกผีอำ ละเมอพูดไปเรื่อยๆ ไปจนถึงลุกขึ้นเดินไปเดินมา ย้ายสิ่งของ พูดคุย ทำกิจกรรมต่างๆ จนเหมือนกำลังใช้ชีวิตตามปกติ บางรายอาจถึงขั้นลุกขึ้นมาแต่งตัว ทานอาหารได้เช่นกัน แต่ระยะเวลาในการละเมอจะไม่นานนัก ราวๆ ไม่กี่นาที และส่วนใหญ่คนที่นอนละเมอจะสามารถเดินกลับไปนอนต่อที่เตียงได้เอง

นอนละเมอ อันตรายหรือไม่?
ปกติแล้วอาการนอนละเมอมักเกิดขึ้นในช่วงวัยเด็ก และจะค่อยๆ หายได้เองเมื่อโตเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น แต่ก็มีบางรายที่ยังมีอาการนอนละเมอในวัยผู้ใหญ่ การนอนละเมอเป็นเพียงความผิดปกติของการนอนหลับเท่านั้น ไม่มีอันตรายอะไรต่อร่างกายร้ายแรงมาก เพียงแต่อันตรายที่เกิดขึ้น อาจมาจากอาการที่เกิดหลังจากนอนละเมอ นั่นคือ การออกมาเดินในที่ที่อันตราย เช่น ใช้มีดในห้องครัว ละเมอปีนหน้าต่าง ระเบียงบ้าน เดินลงบันได เปิดประตูเดินออกจากบ้าน เป็นต้น ดังนั้นควรเฝ้าระวังอากัปกิริยาของคนที่ละเมอเอาไว้ให้ดี

ปลุกคนนอนละเมอกลางคันเลยดีไหม?
คำถามนี้น่าจะอยู่ในความสงสัยของใครหลายคน ว่าเราสามารถปลุกให้เขาตื่นจากการนอนละเมอในขณะที่เขากำลังทำกิจกรรมอยู่ได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ แต่ไม่ควร เพราะเขาอาจไม่ตื่น และหากเขาตื่น อาจทำให้เขามีอาการมึนงงจนกว่าจะหลับลงได้อีกครั้งก็ใช้เวลานานกว่าเดิม หรืออาจจะนอนไม่หลับไปตลอดคืน โดยเฉพาะเด็กเล็กอาจจะร้องไห้งอแงอีกนานกว่าจะหลับอีกครั้ง เพราะอาจเกิดความกลัวขึ้นได้ ดังนั้นทางที่ดีที่สุด คือระมัดระวังความปลอดภัยให้เขา แล้วพยายามพาเขากลับมานอนที่เตียงโดยไม่ต้องปลุกให้ตื่น จะทำให้เขากลับมานอนหลับต่อได้ง่าย และรวดเร็วกว่า

ข้อปฏิบัติต่อคนที่มีอาการนอนละเมอเป็นประจำ
ส่วนใหญ่อาการนอนละเมอจะไมได้เกิดเพียงครั้งสองครั้งแล้วหยุด อาจจะมีอาการนอนละเมอเรื่อยๆ ราวๆ 2-4 ครั้งต่อสัปดาห์ หรืออาจจะน้อยหรือมากกว่านั้น สิ่งที่เราควรทำคือ จดบันทึกเวลาเข้านอน และเวลาที่เริ่มมีอาการนอนละเมอ จากนั้นในคืนอื่นๆ ให้ลองปลุกให้เขาตื่นก่อนที่จะเริ่มมีอาการนอนละเมอราว 30 นาที แล้วให้เขาหลับต่ออีกครั้ง วิธีนี้จะช่วยลดอาการนอนละเมอเป็นประจำได้

หากการนอนละเมอรบกวนคุณภาพชีวิต ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ หรือนอนหลับคนเดียว ไม่มีใครช่วยดูแล และเริ่มได้รับอันตรายจากการนอนละเมอ ควรปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือติดต่อ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ข่าวสุขภาพเพิ่มเติม>>> 4 อาหาร สาเหตุไมเกรน ควรหลีกเลี่ยง

4 อาหาร สาเหตุไมเกรน ควรหลีกเลี่ยง

4 อาหาร สาเหตุไมเกรน ควรหลีกเลี่ยง

สุขภาพ

ปวดหัวไมเกรน อาการนี้รบกวนใจใครหลายคนอยู่บ่อยๆ ทรมานนะคะ… แต่หากวันนี้คุณได้ทราบถึงสาเหตุส่วนหนึ่งของการเกิดโรคนี้ คือ “อาหาร” ก็หลีกเลี่ยงได้

ตามงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเบิร์คเลย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่รายงานผลว่า มีอาหาร 4 ประเภทที่เป็นสาเหตุของอาการปวดหัวไมเกรน โดยการทดลองพบว่า หากหยุดอาหารดังต่อไปนี้นานราวหนึ่งเดือน อาการไมเกรนก็ไม่กลับมาเยือนอีก

อาหารที่ว่า ได้แก่…

  1. เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ช็อกโกแลต โกโก้ รวมปถึงกาแฟ และชาที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนด้วย
  2. ขนมปังบางชนิด เช่น ขนมปังเปรี้ยว (sourdough bread) ขนมปังยีสต์ (baked yeast bread) ส่วนขนมปังอื่นๆ โดยเฉพาะที่ทำจากแป้งโฮลวีต หรือชนิดที่ผสมธัญพืชไม่ก่อไมเกรนค่ะ
  3. ผลไม้บางชนิด เช่น องุ่น พลัม มะละกอ ลูกฟิกซ์ รวมทั้งกล้วยและอะโวคาโดที่สุกงอมเกินไป ฉะนั้นควรกินแต่พอดีค่ะ
  4. เนื้อ สัตว์บางประเภท เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ รวมไปถึงฮอทด็อก ไส้กรอก โบโลนย่า เปปเปอโรนี่ และซาลามี ก็สามารถก่ออาการปวดหัวไมเกรนได้เช่นกัน

อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต แนะนำวิธีแก้อาการปวดหัวไมเกรนอย่างง่าย ซึ่งทำได้ด้วยการปรับการกินอาหารเป็นสูตรชีวจิต

รู้อย่างนี้แล้ว รู้หรือยังว่า ทำไมกินอาหารชีวจิตร้อยเปอร์เซ็นต์จึงหยุดไมเกรนได้

ไมเกรน ต่อไปจะไม่หยุดแค่ปวดหัว

เหตุที่โรคนี้น่ากลัวขึ้น เพราะต่อไปนี้ อาการไมเกรนจะไม่หยุดแค่เพียงแค่การปวดหัวอีกต่อไปแล้วนะคะ

เพราะหลังจาก ดร.ริชาร์ด ลิปตัน และคณะวิจัยจากวิทยาลัยการแพทย์แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ศึกษาข้อมูลจากผู้ป่วยไมเกรนจำนวน 31 คน พบว่าหลังจากเกิดอาการไมเกรนขึ้น โดยเฉพาะไมเกรนชนิดที่ทำให้เห็นแสงสีรุ้ง อาการดังกล่าวจะส่งผลให้เนื้อสมองขาดเลือด

อาการสมองขาดเลือดดังกล่าวได้สร้างความเสียหายให้กับการทำ งานของสมองในระดับหนึ่ง ที่สำคัญยังอาจทำให้ผู้ป่วยคนดังกล่าวเกิดอาการลมปัจจุบันได้ง่ายกว่าคนปกติ ถึง 2 เท่านั่นเอง

ดังนั้นเราควรหาวิธีการลดความถี่ในการเกิดอาการไมเกรน เช่น ทำให้ตนเองผ่อนคลายด้วยการนวด หรือนวดกดจุด นอกจากนี้ยังต้องจัดสรรการพักผ่อนให้เพียงพอ หาวิธีให้ใจผ่อนคลาย ไม่เครียด โดยเฉพาะในเรื่องอาหาร ควรลดแป้งและน้ำตาลขัดขาว หรืองดไปเลยจะยิ่งดีมาก เพื่อลดโอกาสในการเกิดอาการดังกล่าว